http://shopingsabai.lnwshop.com/

วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

+คุณรู้หรือไม่ว่า-เมล็ดของผลไม้ที่มีชื่อว่าองุ่นนั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายของเราอย่างมากมายมหาศาล








          ในเมล็ดองุ่นมีสารประกอบที่สำคัญคือ วิตามินอี flavonoids, linoleic acid, และ OPCs เปลือกของผลองุ่นก็มีสารประกอบเหล่านี้เช่นเดียวกัน แต่มีปริมาณน้อยกว่า ในน้ำองุ่นและไวน์ก็มีสารประกอบ OPCs เช่นเดียวกัน แต่มีปริมาณน้อยกว่าในเมล็ด นอกจากนั้น ผลองุ่นยังมีสารต้านอนุมูลอิสระกลุ่มเดียวกับ OPCs อีกชนิดหนึ่งเรียกว่า resveratrol ซึ่งส่วนใหญ่พบในบริเวณผิวหนัง เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน และกำลังอยู่ระหว่างการศึกษาถึงคุณสมบัติในการบำบัดรักษาโรคหลายชนิด 
สารสกัดจากเมล็ดองุ่น 
          คุณค่าทางยาและโภชนาการขององุ่น:
องุ่นได้รับการยอมรับมาเป็นเวลายาวนานหลายพันปีแล้ว ชาวอียิปต์รับประทานองุ่นกันมาเป็นเวลากว่า 6 พันปี บรรดานักปราชญ์ชาวกรีกโบราณชื่นชมสรรพคุณทางยาของผลองุ่น โดยเฉพาะในรูปของไวน์ หมอพื้นบ้านในยุโรปใช้น้ำมันที่สกัดจากเถาองุ่นในการรักษาโรคผิวหนังและโรคตา
ใบองุ่นมีสรรพคุณในการห้ามเลือด ลดอาการอักเสบและเจ็บปวดอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพบางชนิด อาทิ ริดสีดวงทวาร เป็นต้น ผลองุ่นที่ยังไม่สุกมีสรรพคุณในการรักษาอาการเจ็บคอ ผลองุ่นตากแห้งมีสรรพคุณในการรักษาอาการท้องผูกและร้อนใน
ผลองุ่นสุกมีสรรพคุณในการรักษาโรคหลายชนิด รวมทั้งมะเร็ง อหิวาตกโรค ฝีดาษ อาการคลื่นเหียน ตาแดง และโรคที่เกี่ยวกับผิวหนัง ไตและตับ
เชื่อกันว่า สารเคมีหลายชนิดในผลองุ่น โดยเฉพาะ oligomeric proanthocyanidin complexes (OPCs) มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) บางคนเชื่อว่าสารเหล่านั้นมีสรรพคุณทางยาในการรักษาโรคหลายชนิด ตั้งแต่โรคหัวใจไปจนกระทั่งถึงโรคมะเร็งและทำให้ผิวหนังเต่งตึง แม้จะยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันชัดเจนก็ตาม
อย่างไรก็ดี มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันชัดเจนว่า สารสกัดจากเมล็ดองุ่นมีสรรพคุณในการรักษาโรคเส้นเลือดขอด (chronic venous insufficiency-- CVI) และโรคบวมน้ำ (Edema) การศึกษาจากอาสาสมัครที่มีสุขภาพดีกลุ่มหนึ่งพบว่า การรับประทานสารสกัดจากเมล็ดองุ่นทำให้ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
สารต้านอนุมูลอิสระนั้น มีคุณสมบัติช่วยทำลายอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสารพิษในร่างกายที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ บางกรณีอาจทำให้เซลตายได้ เชื่อกันว่าอนุมูลอิสระเป็นต้นเหตุของการชราภาพ รวมทั้งก่อให้เกิดโรคร้ายแรงหลายชนิด รวมทั้งโรคหัวใจและมะเร็ง
          ลักษณะขององุ่น: 
องุ่นเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียบริเวณใกล้ ๆ ทะเลแคสเปียน แต่ถูกนำไปปลูกในอเมริกาเหนือและยุโรปในเวลาต่อมา องุ่นเป็นไม้เถา มีใบขนาดใหญ่ลักษณะเป็นแฉก เถาองุ่นมีเปลือกที่ลอกออกได้เองเมื่อแก่จัด ผลองุ่นมีหลายสี อาทิ เขียว แดง และม่วง     
          สารสำคัญในองุ่น:
เมล็ดองุ่นมีสารประกอบที่สำคัญคือ วิตามินอี flavonoids, linoleic acid, และ OPCs เปลือกของผลองุ่นก็มีสารประกอบเหล่านี้เช่นเดียวกัน แต่มีปริมาณน้อยกว่า ในน้ำองุ่นและไวน์ก็มีสารประกอบ OPCs เช่นเดียวกัน แต่มีปริมาณน้อยกว่าในเมล็ด นอกจากนั้น ผลองุ่นยังมีสารต้านอนุมูลอิสระกลุ่มเดียวกับ OPCs อีกชนิดหนึ่งเรียกว่า resveratrol ซึ่งส่วนใหญ่พบในบริเวณผิวหนัง เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน และกำลังอยู่ระหว่างการศึกษาถึงคุณสมบัติในการบำบัดรักษาโรคหลายชนิด
          ประโยชน์ทางการแพทย์และแนวโน้ม:
ปัจจุบันมีการใช้สารสกัดจากเมล็ดองุ่นในการเยียวยาปัญหาสุขภาพหลายชนิดที่เกิดจากพิษของอนุมูลอิสระ อาทิ โรคหัวใจ เบาหวาน และมะเร็ง เป็นต้น ผลการศึกษาในสัตว์ทดลองสนับสนุนการใช้สารสกัดจากเมล็ดองุ่นในการรักษาโรคเหล่านั้น
ผลการศึกษาพบว่า สาร flavonoids ที่พบในไวน์แดงช่วยลดปริมาณโคเลสเตอรอล LDL ซึ่งเป็นโคเลสเตอรอลชนิด “เลว” ทำให้หัวใจแข็งแรง กล่าวกันว่าชาวฝรั่งเศสมีสถิติเป็นโรคหัวใจน้อยกว่าชาวอเมริกันอย่างเห็นได้ชัด ทั้งที่นิยมรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงเหมือนกัน เนื่องจากชาวฝรั่งเศสนิยมดื่มไวน์แดง
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันได้ชัดเจนว่า สารสกัดจากเมล็ดองุ่นช่วยลดการเป็นโรคหัวใจได้จริงหรือไม่ นักวิจัยบางรายชี้ว่า ชาวฝรั่งเศสส่วนใหญ่มีสุขภาพหัวใจดีเพราะแอลกอฮอล์จากไวน์มากกว่าสาร flavonoids ขณะที่นักวิจัยอีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่า ทั้งแอลกอฮอล์และสาร flavonoids ต่างก็มีส่วนช่วยให้ชาวฝรั่งเศสมีสุขภาพหัวใจแข็งแรง
สมาคมสุขภาพหัวใจอเมริกัน (American Heart Association) และองค์การด้านสุขภาพอีกหลายองค์กรไม่สนับสนุนการดื่มแอลกอฮอล์เพื่อป้องกันโรคหัวใจ ด้วยเหตุผลว่า การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ มีความเสี่ยงต่อการเสพติดและปัญหาร้ายแรงอื่น ๆ เช่น อุบัติเหตุในการขับขี่รถยนต์ เป็นต้น ทั้งยังมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคตับ โรคมะเร็งเต้านม และโรคอ้วน อีกต่างหาก ผลการศึกษาพบว่าผู้ชายไม่ควรดื่มไวน์เกินกว่าวันละ 2 แก้วและผู้หญิงไม่ควรดื่มไวน์เกินกว่าวันละ 1 แก้ว 
          โรคเส้นเลือดขอด:
โรคเส้นเลือดขอด หรือ CVI คืออาการเส้นเลือดขอดที่บริเวณขา เห็นเส้นเลือดปูดโปนขึ้นมาอย่างชัดเจน ทำให้เส้นเลือดและผิวหนังตึงและเจ็บปวด รายงานผลการศึกษาที่เชื่อถือได้จากหลายสำนักยืนยันว่า สาร OPCs จากเมล็ดองุ่นช่วยบรรเทาอาการของโรคนี้ได้
          อาการบวมน้ำ:
อาการบวมน้ำ (Edema) เป็นอาการบวมอันเนื่องมาจากการเกิดบาดแผลหรือการผ่าตัด ผลการศึกษาพบว่า การรับประทานสารสกัดจากเมล็ดองุ่นช่วยให้หายจากอาการบวมน้ำในได้เร็วขึ้น อาการบวมน้ำมักจะเกิดขึ้นเป็นปกติหลังการผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านม
ผลการศึกษาจากผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมพบว่า การรับประทานสารสกัดจากเมล็ดองุ่นวันละ 600 มิลลิกรัม เป็นเวลา 6 เดือนหลังการผ่าตัด ช่วยลดอาการบวมน้ำและอาการปวดแผลได้มากกว่าการใช้ยาหลอก (placebo) ตามปกติโดยทั่วไป นอกจากนั้น การศึกษาอีกรายหนึ่งยังพบว่า การรับประทานสารสกัดจากเมล็ดองุ่นหลังได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ช่วยลดอาการปวดและบวมที่บริเวณบาดแผลได้มากกว่าการรับประทานยาหลอก (placebo)
          โคเลสเตอรอลสูง:
ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันได้ชัดเจนว่า การรับประทานสารสกัดจากเมล็ดองุ่นช่วยลดโคเลสเตอรอลได้ แต่ผลการศึกษาเบื้องต้น 2 รายบ่งชี้ว่ามีแนวโน้มน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
การศึกษารายหนึ่ง ในกลุ่มอาสาสมัครที่มีโคเลสเตอรอลสูง 40 คน โดยกลุ่มหนึ่งให้รับประทานสารสกัดจากเมล็ดองุ่น อีกกลุ่มหนึ่งรับประทานโครเมี่ยม กลุ่มที่สามรับประทานสารสกัดจากเมล็ดองุ่นร่วมกับโครเมี่ยม และกลุ่มสุดท้ายให้รับประทานยาหลอก (placebo) ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 2 เดือน ผลการศึกษาพบว่า การรับประทานสารสกัดจากเมล็ดองุ่นร่วมกับโครเมี่ยม มีประสิทธิภาพในการลดโคเลสเตอรอล LDL ได้ดีกว่าการรับประทานสารสกัดจากเมล็ดองุ่นหรือโครเมี่ยมแต่เพียงอย่างเดียว
การศึกษาอีกรายหนึ่ง ทำในกลุ่มอาสาสมัครชายที่สูบบุหรี่แต่ยังมีสุขภาพดี 24 คน (อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากเมล็ดองุ่น ในการละลายไขมันในกระแสเลือด โดยให้อาสาสมัครกลุ่มหนึ่งรับประทานสารสกัดจากเมล็ดองุ่นวันละ 75 มิลลิกรัมต่อเนื่องกันเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งรับประทานยาหลอกในปริมาณเท่ากัน ผลการศึกษาพบว่าปริมาณโคเลสเตอรอล LDL ในกลุ่มอาสาสมัครที่รับประทานสารสกัดจากเมล็ดองุ่นลดลงอย่างเห็นได้ชัด 
          ความดันโลหิตสูง:
ในทางทฤษฎี สารสกัดจากเมล็ดองุ่นน่าจะช่วยบำบัดโรคความดันโลหิตสูงได้ สารต้านอนุมูลอิสระที่พบในเมล็ดองุ่น มีคุณสมบัติช่วยปกป้องเส้นโลหิตไม่ให้เกิดความเสียหาย เส้นโลหิตที่เกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากการทำลายของอนุมูลอิสระ อาจก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้
ผลการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า สารสกัดจากเมล็ดองุ่น ช่วยลดความดันโลหิตลงได้อย่างมีนัยสำคัญ แต่การทดลองในมนุษย์ยังไม่ปรากฏผลยืนยันชัดเจนว่า สารสกัดจากเมล็ดองุ่นช่วยรักษาหรือบรรเทาโรคความดันโลหิตสูงได้  
          มะเร็ง:
ผลการศึกษาในห้องทดลองพบว่า สารสกัดจากเมล็ดองุ่น อาจช่วยลดการเติบโตของเซลมะเร็งในทรวงอก ในกระเพาะอาหาร ในลำไส้ ในต่อมลูกหมาก และในปอดได้ แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่า สารสกัดจากเมล็ดองุ่นสามารถใช้รักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งดังกล่าวข้างต้นได้จริง
เชื่อกันว่าสารต้านอนุมูลอิสระที่พบในเมล็ดองุ่น ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้ และสารสกัดจากเมล็ดองุ่นอาจช่วยป้องกันความเสียหายของเซลตับที่เกิดจากการรักษาโรคด้วยวิธีเคมีบำบัดได้อีกด้วย ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ก่อนตัดสินใจใช้สารต้านอนุมูลอิสระร่วมกับเคมีบำบัด เพื่อความมั่นใจว่าจะไม่ก่อให้เกิดปฏิกริยาในเชิงลบ
          โรคอื่น ๆ:
แม้จะยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันชัดเจน แต่ปัจจุบันสารสกัดจากเมล็ดองุ่นก็ได้รับความนิยมในการใช้บำบัดโรคและฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกายหลากหลายรูปแบบ เช่น 
  • เบาหวาน (ใช้ควบคุมน้ำตาลในเลือด) 
  • เพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นในเวลากลางคืน 
  • ปกป้องคอลลาเจนและอีลาสตินในผิวหนัง (ลดการเหี่ยวย่น) 
  • บรรเทาริดสีดวงทวาร 


ด้วยความรักและความห่วงใยจาก







ไม่มีความคิดเห็น: